ปัญหาของคนที่เริ่มฝึกชิมกาแฟคือการพรรณนาสิ่งที่สัมผัสได้ออกมาให้คนที่ฟังอยู่ได้เข้าใจ คุณครูที่สอนชิมกาแฟผมถึงกับบอกว่าการชิมกาแฟนั้นที่แท้มันเป็นเรื่อง “การสื่อสาร” หรือ communication จำได้ว่าตอนที่เข้าชิมกาแฟกับท่านใหม่ๆ พวกเราถูกรุกไล่เคี่ยวเข็ญให้พูดออกมา พูดมันออกมา เราก็มึนซิครับไม่รู้ว่าจะพูดอะไร เพราะประสบการณ์กับการชิมกาแฟตอนนั้นเกือบเท่ากับศูนย์ รู้แต่เปรี้ยวๆ ขมๆ หอมๆ เหม็นๆ อะไรอย่างนั้น
Posts Tagged ‘คัปปิ้ง’
คัปปิ้ง 0 : ตอนตั้งหลัก
ไม่ได้ตั้งใจให้สับสนนะครับที่ชวนตั้งโต๊ะชิมไปแล้ว ยังให้กลับมาตั้งหลักอะไรอีก แต่บังเอิญมันเพิ่งนึกได้ว่าเรื่องนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน มิฉะนั้นแล้วการชิมจะไร้ทิศทาง คือชิมแล้วไม่เกิดความรู้อะไรขึ้นมา อย่างมากก็คือ..เออ อร่อยดี ชอบ ไม่ชอบ อะไรอย่างนั้น
คัปปิ้ง 2 : ตอน “ตั้งใจ”
ต่อจากเมื่อตั้งโต๊ะเตรียมน้ำกาแฟไว้เรียบร้อยแล้ว เราจะเริ่มชิมกันเลยครับ แม้ว่าเราจะพยายามทำให้สนุกสนานหากต้องใส่ความตั้งใจและสมาธิเข้าไปมากๆ ด้วย เพราะกลิ่นรสในกาแฟนั้นมีลักษณะซับซ้อนซ่อนกันออกมา ไม่ได้เห็นกันชัดๆ หลักที่เราใช้สังเกตหรือประเมินกาแฟนั้น นำมาจากไวน์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมาก่อนช้านาน เริ่มจาก
คัปปิ้ง 1 : ตอนตั้งโต๊ะ
จากที่เิริ่มไว้ครั้งก่อนว่าชิมกาแฟกันทำไม และใครควรชิมกาแฟบ้าง กลับไปอ่านดูให้รู้ว่าลืมไปอีกกลุ่มหนึ่งที่ควรทำด้วย นั่นคือลูกค้าผู้ดื่มครับ อันที่จริงลูกค้าเป็นพลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกาแฟที่สำคัญที่สุด หากขาดคนกลุ่มนี้ไปก็ไม่รู้ว่าจะทำกาแฟดีๆ กันมาทำไม ถ้าไม่มีคนซื้อ ทุกอย่างคงจบกัน กลุ่มคนซื้อกาแฟดื่มจึงควรทำคัปปิ้งด้วยเพื่อพัฒนาทักษะการรับรู้ของตนเอง เพื่อความสุขสนุกสนาน เพื่อสุนทรียที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อคุ้มค่าเงินทุกสตางค์ที่จ่ายไป ฯลฯ และให้รู้ว่ากาแฟถ้วยเล็กๆ นั้นอาจถือเป็นรางวัลแห่งชีวิตได้
Y :-) [uppIng? : ชิมกาแฟกันทำไม
Cupping หรือ ความหมาย ? Cup tasting ถ้าให้แปลตรงตัวเลยหมายถึง การชิมทดสอบ ซึ่งโดยเฉพาะทางกาแฟนั้นย่อมหมายถึง การชิมทดสอบน้ำกาแฟในถ้วยนั่นเอง แล้วทดสอบอะไร ?