Archive for the ‘ชงกาแฟ’ Category

ทำความเข้าใจเบื้องต้นกับ brewing control chart

สำหรับคนที่หัดชงกาแฟมาสักพักแล้วอยากชงให้รสชาติดีขึ้น สิ่งที่น่าสนใจและช่วยได้มากสำหรับยุคปัจจุบันนี้คือการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า refractometer ควบกับการใช้ brewing control chart ตามรูปด้านล่าง อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ สำหรับผู้เริ่มต้นแบบนี้นะครับ การชงกาแฟคือการสกัดเอาสารประกอบที่ละลายได้ออกจากผงกาแฟบด ซึ่งปกติเราทำโดยใช้น้ำร้อนไหลผ่าน โดยทั่วไปในการชงกาแฟแบบเอสเปรสโซเราจะสามารถละลายสารกาแฟออกมาได้ไม่เกิน 30% หมายถึงถ้าเราใช้ผงกาแฟบดในการชง 10 กรัม จะละลายสารกาแฟออกมาได้ไม่เกิน 3 กรัม 30%ที่กล่าวถึงนี้เราเรียกว่า extraction yield (อ่านว่ายีลด) ถ้าดูจาก brewing control chart จะเห็นว่ารสชาติกาแฟนั้นเกิดจากความสัมพันธ์ของสองค่าด้วยกัน โดยในแกนนอนเป็นค่า extraction yield ที่กล่าวไป ส่วนแกนตั้งเป็นค่า tds (%) ซึ่งย่อจาก total dissolved solids หรือของแข็งที่ละลายอยู่ทั้งหมด พูดง่ายๆ ก็คือถ้า % ของ tds สูงหมายความว่ากาแฟจะมีความเข้มข้นมากเพราะมีอัตราส่วนของของแข็งที่ละลายอยู่มาก brewing control chart ด้านบนแสดงให้เห็นแนวโน้มของการชงกาแฟแบบเอสเปรสโซโดยทั่วไปว่าความสัมพันธ์ของสองค่านี้ถ้าเป็นช๊อตเอสเปรสโซปริมาณปกติ ค่า tds จะอยู่ที่ประมาณ 9.5% [...]

การปรับอุณหภูมิน้ำชงกาแฟ

อุณหภูมิน้ำชงกาแฟมีผลกับการสกัดและรสชาติกาแฟเสมอ โดยหลักการน้ำอุณหภูมิสุงกว่าจะสกัดหรือละลายสารประกอบที่ละลายได้หรือ soluble compound ได้มากกว่า ส่วนน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะละลายได้น้อยกว่า เครื่องชงกาแฟที่ถูกตั้งค่าต่างๆ มาจากโรงงานมักจะเป็นค่าที่เป็นกลางๆ หรือทดลองว่าพอใช้ได้แล้วในเงื่อนไขที่ง่ายสะดวกกับโรงงานเช่น เมล็ดกาแฟที่หาได้ คุณภาพน้ำของบริเวณที่โรงงานตั้งอยู่ รวมไปถึงทักษะความสามารถของผู้กำหนดค่าต่างๆ ในโรงงานนั้น นั่นหมายความว่าเมื่อเครื่องชงกาแฟเครื่องนั้นเดินทางมาถึงเราแล้ว ตัวแปรต่างๆ ย่อมแตกต่างกันไปมากแล้ว การปรับแต่งจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดามากเหมือนกับนักดนตรีที่ต้องมีการปรับแต่งอุปกรณ์ของตัวเองเสมอเพื่อให้สัมผัสได้ดีและเสียงออกมาดีถูกต้องไม่เพี้ยน โดยหลักการง่ายๆ ที่เป็นพื้นฐานคือถ้าน้ำอุณหภูมิสูงเกินไปสำหรับระดับการคั่วของเมล็ดกาแฟที่ใช้รสชาติที่ได้จะ flat ไม่มีมิติ ขาดความชุ่มฉ่ำ หรือถึงกับขมไหม้ เป็นอาการของ over extraction คือการสกัดที่มากเกินไป กลับกันถ้าน้ำอุณหภูมิต่ำไปแนวโน้มรสชาติจะเป็นในทาง under extraction คือรสบางอ่อน ขม เปรี้ยวไม่กลมกล่อม

กาแฟดี vs กาแฟที่ชอบ

เคยมั๊ยครับ เวลาที่จะแนะนำใครไปร้านกาแฟที่คิดว่ากาแฟดี หรือเวลามีใครถามว่าร้านกาแฟไหนที่กาแฟดีๆ บ้าง แล้วไม่แน่ใจว่าดีหรือเปล่า หรือดีในความหมายของคนที่ถามนั้นคืออะไร

เมื่อเอสเปรสโซมีปัญหา

ตั้งใจให้เป็น check list ไว้สำหรับคนทำบาร์กาแฟนะครับ และหมายถึงกรณีเอสเปรสโซที่ชงๆ กันอยู่ทุกวัน รสชาติมันไม่เหมือนเดิม มันเปลี่ยนไป ปัญหาใหญ่ที่สุดคือต้องรู้สึกถึงความเปลี่ยนไปให้ได้ก่อนด้วยการชิม แต่เรื่องนี้ลำบากพอควรด้วยความที่เราชิมกาแฟที่ชงอยู่ทุกวันบางทีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ไม่ทำให้เรารู้สึกได้ในทันที จนเมื่ออาการออกชัดแล้ว หรือเมื่อลูกค้าเข้ามาทักแล้วจึงเริ่มสังเกตกัน แต่สมมติว่าเรารู้สึกแล้วว่ามันมีปัญหา แนวทางในการวิเคราะห์สืบค้นต้นเหตุเราอาจไล่ดูอย่างเป็นระบบสักหน่อย โดยเอาหลัก 4 M ของพวกอิตาเลี่ยนมาเป็นแนวทางในใจ

เทคนิคการเกลี่ยกาแฟ

อันที่จริงในการตวงและการเกลี่ยกาแฟยังมีวิธีอื่นๆ อีกเช่นการตวงเกลี่ยต้วยแผ่นพลาสติก การตวงด้วยตัวปัดจากถังพักกาแฟของเครื่องบด รวมถึงการตวงด้วยเครื่องอัตโนมัติที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แต่ส่วนตัวผมคิดว่าเทคนิคพื้นฐานที่แสดงในคลิปยังเป็นแนวทางที่มือใหม่ทุกคนควรฝึกให้เข้าใจเสียก่อน จะทำให้สามารถเข้าใจและปรับใช้กับเทคนิคอื่นๆ ในการชงกาแฟได้ทั้งหมด เหมือนกับการหัดขับรถที่ควรหัดขับรถเกียร์ธรรมดาให้เข้าใจเสียก่อน ก่อนที่จะไปขับเกียร์อัตโนมัติ จะทำให้เข้าใจจังหวะของการเปลี่ยนเกียร์และความสัมพันธ์ของเกียร์กับเครื่องยนต์ได้ดีกว่าคนที่ขับเกียร์ธรรมดาไม่เป็น

เอสเปรสโซเย็น

เรื่องเอสเปรสโซเย็นนี้เคยคิดจะเขียนถึงนานแล้ว แต่ก็ยั้งมือไว้เพราะได้อ่านข้อเขียนของเพื่อนๆ หรือผู้อาวุโสบางท่านที่คอยอธิบายเป็นระยะคิดว่าให้ความเข้าใจได้พอสมควรแล้ว แต่ข้อถกเถียงเรื่องนี้ยังหาที่สุดไม่ได้และยังเป็นหัวข้อที่คุยสนุกทุกเมื่อเชื่อวัน หากคิดอยากจะกลับไปค้นคว้าหาอ่านทบทวนกลับล้มเหลว เพราะข้อเขียนเหล่านั้นกระจัดกระจายหายไปกับสายลมแล้ว

อัตราการชงกับ perfect shot

เกริ่นไปแล้วกับเรื่อง perfect shot เมื่อนักเรียนชงกาแฟมือใหม่เข้าใจลักษณะช็อตต่างๆ แล้ว ทั้งแบบที่เพอร์เฟคและไม่เพอร์เฟค ในคลาสสอนชงกาแฟเรามักเน้นความสำคัญของเรื่องระยะเวลาในการสกัดหรือ extraction time ก่อนเลย เพราะสำหรับเรื่องการชงเอสเปรสโซนั้นมีความสำคัญกับรสชาติอย่างยิ่งยวด

ความลี้ลับในการชงเอสเปรสโซ

ด้วยเหตุที่เพิ่งได้เครื่อง reneka viva s กลับมาหลังจากที่ยืมเครื่อง royal vallelunga มาทดสอบได้อยู่พักหนึ่ง เวลาที่เพิ่งสับเครื่องใช้เราจะได้เห็นความแตกต่างของเครื่องค่อนข้างชัด (จริงๆ ถ้าให้ชัดต้องวางใช้คู่กันสักพัก) อารมณ์รวมๆ เมื่อสอบถามเหล่าบาริสต้าที่บาร์ของเรา ทุกคนรวมความเห็นว่าเครื่อง viva ให้ความรู้สึกที่มั่นคงมั่นใจกว่า เสียงที่เงียบกริบของปั๊มแบบ magnatic ใน viva บวกกับการประกอบที่แน่นหนามันทำให้อะไรดูดีไปหมด สิ่งที่สัมผัสตัวบาริสต้ามากที่สุดคือด้ามจับของ portafilter ที่มากับ viva เป็นยางและรูปทรงรีที่กระชับนุ่มมือช่วยให้การทำงานหนักตลอดทั้งวันมันมั่นใจและไม่เจ็บมือ

ซิงเกิ้ลช็อตและดับเบิ้ลช็อต

กลัวจะตกเทรนด์ครับ เลยลองทำเป็น vdo blog ออกมาบ้าง เรื่องแรกนี้เป็นเรื่องของคำว่า single และ double shot ที่ใช้ในการชงกาแฟเอสเปรสโซ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่พื้นฐานมากแต่กลับสร้างความสับสนให้มือใหม่หลายคน รวมถึงผู้ดื่มกาแฟทั่วไปด้วย ผมพยายามพูดให้สั้นจนไม่แน่ใจว่่าจะเข้าใจกันหรือเปล่าหรือว่ายิ่งสับสนขึ้นไปอีก อย่างไรก็ยังมีพื้นที่อภิปรายกันได้ใน comment ของโพสต์นี้นะครับ

พรีอินฟิวชั่นกันอีกนิด

เคยพูดถึงเรื่องนี้ไปเมื่อนานมาแล้ว แต่ถ้าให้โปรยซ้ำอีกนิดถึงท่านที่ไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย อาจได้แบบสั้นๆ ว่าหากเราแปลตามตัว preinfusion คือ “การเตรียมฉีดน้ำ” หมายถึงฉีดน้ำลงบนกาแฟซึ่งมักหมายถึงการชงด้วยเครื่องเอสปรสโซ เครื่องที่มีระบบ preinfusion เมื่อเรากดปุ่มทำกาแฟเครื่องจะฉีดน้ำลงไปนิดหนึ่งก่อนเพื่อให้กาแฟพองตัวและแน่นขึ้นจากนั้นจึงฉีดจริงเพื่อสกัดให้ได้น้ำกาแฟออกมา การที่กาแฟพองตัวแน่นขึ้นนี้เองช่วยให้การสกัดเป็นไปอย่างสม่ำเสมอถ้วนทั่ว มีผลต่อกลิ่นและรสของกาแฟชนิดที่เราๆ ท่านๆ รู้สึกกันได้

Powered by WordPress | Designed by: Premium Themes | Best Themes Gallery, Find Free WordPress Themes and Top WordPress Themes