…ฉันคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่องุ่นเติบโต
คิดถึงดวงอาทิตย์ส่องแสง…ว่าฝนตกมั้ย
…ฉันคิดถึงทุกคนที่ดูแลและเก็บองุ่น
ถ้ามันเป็นไวน์เก่า…พวกเขาก็ตายไปแล้วกี่คน?
…ฉันชอบที่ไวน์พัฒนาอยู่ตลอด
ถ้าฉันเปิดไวน์ขวดนี้ วันนี้…รสชาติคงแตกต่างกันกับถ้าเปิดมันในวันอื่น
เพราะจริงๆแล้ว ไวน์ก็มีชีวิต
มันพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ….จนถึงจุดอิ่มตัว
…และเสื่อมถอยลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
( ‘Maya in Sideways)
อันนี้ลอกของเพื่อนที่โพสต์ไว้ใน fb มาแปะไว้ดื้อๆ เลยครับ เป็นถ้อยความแปลที่โค๊ดมาจากภาพยนต์เรื่อง Sideway ที่ทั้งคอไวน์และคอหนังพูดถึงกันมายาวนานแล้ว ผมได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้วตั้งแต่ไม่สนใจทั้งกาแฟและไวน์ จนวันนี้ถึงได้อินน์กับโค๊ดข้างบนนี้มากขึ้น
กาแฟก็มีชีวิตเหมือน ไวน์ หรือเหมือนคน คือมีช่วงหนุ่มสาวที่ทรงพลังเร่าร้อน เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ถึงสุขุมนุ่มลึก และเมื่อแก่ชราจึงมีเรี่ยวแรงน้อยลงรอวันจากไป
เห็นภาพชัดขึ้นเมื่อพูดถึงเมล็ดกาแฟคั่ว
หลายคนยังฝังใจอยู่ด้วยคำสอนว่ากาแฟนั้นเหมือนขนมปัง คือยิ่งใหม่ยิ่งดี ยิ่งออกจากเตาร้อนๆ ยิ่งนุ่มหอมอร่อย
แต่ถ้าพูดถึงการชงแบบเอสเปรสโซ หรือกาแฟคั่วที่คั่วเบลนด์มาเพื่อชงด้วยวิธีเอสเปรสโซ เราน่่าจะเปรียบกาแฟเหมือนไวน์มากกว่า
เพราะหากใหม่เกินไปเอสเปรสโซจะเหมือนคนหนุ่มที่กำลังห้าว หรือสาวมั่นที่มีพลังเยอะ กาแฟมักมีรสคมบาดหรือฝาดขาดความกลมกล่อม เอสเปรสโซมีครีมาหนาฟูแต่ไม่คงตัว ในถ้วยเต็มไปด้วยกลิ่นแกส และกลิ่นฟางกลิ่นหญ้าหรือกลิ่นดิบๆ
ต่อเมื่อเก็บไว้บ้างอาจจะ 3-5 วันหลังคั่วกาแฟจึงพัฒนารสชาติขึ้นมาให้กลมกล่อมกลมกลืนมากขึ้น ครีมาละเอียดคงตัวมากขึ้น กลิ่นแกสและกลิ่นดิบต่างๆ ลดลงแล้ว เปิดเผยให้กลิ่นของกาแฟตามธรรมชาติได้โชนโชยอวดโฉมกัน รสที่เคยขมหรือเปรี้ยวคมๆ บาดๆ จะกลมกล่อมขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ เราถือว่ากาแฟได้พัฒนาตัวเองจนถึงช่วงสูงสุดของชีวิตมันแล้ว
แต่ถ้าเราเก็บไว้นานเกินไป รสขมจะเริ่มให้เห็นมากขึ้น น้ำกาแฟจะขาดเนื้อคือแทนที่จะหยาดเยิ้มลงมาในถ้วยกลับกลายเป็นน้ำใสๆ ลงมาแทน ครีมาบางลงมาก กลิ่นหอมที่เคยมีจะถูกแทนที่ด้วยกลิ่นหืนที่ค่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ วงเล็บไว้หน่อยว่านี่เรากำลังพูดถึงกาแฟคั่วสไตล์อิตาเลียนนะครับที่ส่วนใหญ่ไม่ได้คั่วกาแฟเข้มมากนัก หากเป็นพวกกาแฟคั่วเข้มอาจมีอาการต่างๆ ในช่วงอายุของมันแตกต่างจากที่กล่าวไปเล็กน้อย
ในคลาสไวน์ผมเคยถูกสอนให้ฝึกเดาอายุของไวน้ ว่าไวน์ขวดนั้นๆ น่าจะมีอายุสักกี่ปี หมายถึงเราสามารถเก็บไวน์ขวดนี้ได้กี่ปีนับตั้งแต่ปีที่ผลิตในขณะที่ยังสามารถดื่มได้โดยไวน์ไม่เน่าไม่เสีย ไวน์ที่ผลิตมาจากแต่ละที่จะมีอายุของมันไม่เท่ากัน ไวน์ชั้นดีจากฝรั่งเศสบางขวดอาจมีอายุยืนยาวหลายสิบปี ในขณะที่ไวน์โลกใหม่บางตัวจากเซ้าท์อัฟริกาอาจมีอายุแค่ 2-3 ปีเท่านั้น ที่ต่างกันขนาดนั้นอาจด้วยความที่องุ่นที่ใช้แตกต่างกัน รวมไปถึงเทคนิควิธีการทำไวน์ที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ไวน์ที่อายุยืนนานจะมีเวลาพัฒนาตัวเองมาก เมื่อถึงขีดสุดจึงมีมิติและความสลับซับซ้อนของรสและกลิ่นมากตามไปด้วย ทำให้ไวน์จากแต่ละแห่งมีราคาหลากหลายตั้งแต่ขวดละไม่กี่ร้อยบาทจนกระทั่งเป็นแสน
การฝึกเดาอายุของไวน์อาจสังเกตจากการดูสี เทียบกับปีที่ผลิต ผู้ที่ชำนาญจะดมกลิ่นชิมรสประกอบกัน การพยากรณ์อายุของไวน์เป็นเรื่องที่เราต้องฝึกต้องเดาเองเพราะในฉลากไม่ได้บอกไว้ ไวน์ที่น่าสนใจบางตัวอาจมีกูรูให้ความเห็นเรื่องอายุของมันบ้างแต่คงไม่ใช่ทุกขวด ด้วยความที่ไวน์แต่ละตัวจะมีช่วงขาขึ้นคือช่วงเด็ก ช่วงเวลาที่รสชาติพัฒนาถึงขีดสุด (แตะ plateau) ระยะเวลาที่อยู่บน plateau นั้น และช่วงเวลาขาลงคือเริ่มเสื่อมถอยไม่เท่ากัน การพยากรณ์อายุของไวน์หากทำได้ใกล้เคียงความจริงจะมีประโยชน์มากในการช่วยให้เรารู้ว่าไวน์ขวดนี้สมควรดื่มเมื่อไหร่ดี เราควรรอกี่ปีหลังจากปีที่ผลิตไวน์ขวดนี้จึงจะพัฒนาตัวเองได้ถึงขีดสุด และสามารถเก็บต่อไปได้อีกกี่ปีไวน์ตัวนี้จึงจะเริ่มเสื่อมถอยลง
อายุของกาแฟอาจไม่ซับซ้อนขนาดนั้น แต่ความจริงก็คือกาแฟแต่ละตัว มีการคั่วและเบลนด์มาต่างกัน รวมถึงมีเทคนิควิธีในการบรรจุภัณฑ์จนอาจรวมถึงวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ย่อมทำให้อายุของกาแฟตัวนั้นต่างกันไปได้บ้าง
นักชงกาแฟที่มีความมุ่งมั่นสูงจึงควรทดลองกับกาแฟที่ตัวเองใช้อยู่จนรู้ได้ว่ากาแฟตัวนั้นมีอายุเท่าไหร่นับจากวันคั่ว ช่วงเวลาที่รสชาติพัฒนาถึงขีดสุดอยู่ที่วันไหนและรสชาติที่ดีนั้นจะดีอยู่ได้อีกสักกี่วันกว่าที่จะเริ่มเสื่อมสภาพ หากนักชงกาแฟรู้จักกาแฟของตัวเองดีพอเขาจะสามารถบริหารการใช้เมล็ดกาแฟตัวนั้นให้ถูกใช้ในช่วงที่มีรสชาติดีอยู่เสมอได้
ถือเป็นการย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของอายุเมล็ดกาแฟที่มีผลกับรสชาติในถ้วยอีกครั้งครับ เพราะกาแฟก็มีชีวิตและเอสเปรสโซเบลนด์ของเราก็เช่นเดียวกัน คือมีช่วงพีคที่นักชงควรต้องค้นหาด้วยตัวเอง ผมแนะนำคร่าวๆ เพียงว่าน่าจะหลังคั่วแล้วอย่างน้อย 3-5 วันจะได้รสชาติดีที่สุดและจะเริ่มเสื่อมถอยราววันที่ 8 หลังคั่ว หากร้านกาแฟสามารถบริหารการใช้ให้อยู่ในช่วงเวลานี้ได้ผมเชื่อว่าน่าจะได้เอสเปรสโซที่คุณภาพดีอยู่เสมอ
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
แต่ว่าการคาดเดาอายุของกาแฟที่ดีที่สุดต้องมีข้อสังเกตุลักษณะการคั่วประกอบไปด้วย
ผมสังเกตุว่ากาแฟที่คั่วอ่อนมักมีการพัฒนาการที่แช่มช้ามากเมื่อเราเก็บสภาพแวดล้อมที่ดี
ผมเคยคั่วกาแฟตัวหนึ่งอ่อนมากๆ ประมาณหลังfirstcrack หนึ่งนาทีก็จบการคั่ว
หลังจากนั้น3วันเอามาชิมก็รู้สึกงั้นๆ ต่อมาให้หลังไปเกือบเดือนจนลืมไปแล้วว่าคั่วเจ้าตัวนี้ไว้
ก็เอามาชงเป็นEspressoอีกที คราวนี้ถึงได้เจอความละมุนหอมหวานของกาแฟตัวนี้
กาแฟตัวเดียวกันนี้ยังถูกเอาไปคั่วค่อนข้างเข้มสำหรับ Espresso อีกหม้อหนึ่ง ผ่านไปเพียง7วันเท่านั้นก็เหม็นหืนอย่างร้ายกาจชนิดที่ทิ้งได้โดยไม่ต้องเสียดายเลยครับ
เป็นเรื่องง่ายๆ ที่คนขายกาแฟ(อาจ)ไม่รู้ไงครับคุณตู๋
ชอบบทความนี้ครับ
ทั้งบทความไม่มีคำว่า อร่อย
^^
อ้าว..คำว่าอร่อยมันเป็นยังไงหรือครับ
ผมคิดว่าช่วงเวลาชีวิต ขึ้นอยู่กับบรรจุภัณฑ์ด้วย ถ้าเป็นถุงฟรอย์แบบติดวาล์วแบบระบายอากาศทางเดียว เจ็ดแปดวันน้อยไปนิด ช่วงที่รสกาแฟอิ่มที่สุดจากถุงบรรจุแบบนี้ จากประสบการณ์
กาแฟที่ผมเคยทำงานด้วยเป็นระยะปีกว่าๆ อยู่ที่ วันที่สิบถึงสิบสี่ ผมไม่แน่ใจระดับการคั่วแต่คิดว่าอยู่กลางๆครับ มาแชร์ด้วยคนครับ
[...] This post was mentioned on Twitter by Thananya & Parichat, Vudhiporn Haskarn. Vudhiporn Haskarn said: กาแฟก็มีชีวิต http://fb.me/KpZwnDsd [...]
>>>เป็นเรื่องง่ายๆ ที่คนขายกาแฟ(อาจ)ไม่รู้ไงครับคุณตู๋
Are you serious? That’s scary.
I think the trick of roast lighter is quite well known for people who exports roasted coffee to make sure that they can last longer (more rest time). Hoffman’s espresso blend is a prime example. Intelli’s Black Cat was roasted darker in the old days lots of Aussie tried to ‘import’ into their countries but gave up as it becomes too oily to use.
@ปอง ของซีทฯ ที่ขายส่งเราไม่ได้ใช้วาล์วครับ อายุเลยไม่ยืนเท่าไหร่ ถ้าติดวาล์วเห็นด้วยว่าประมาณสิบวันถึงจะดี แต่ของอิตาเลียนที่เคยลองบางทีทิ้งไว้เดือนยังดีอยู่ อันนี้คงแล้วแต่กาแฟแล้วแต่เทคนิค
@boblam ผมหมายถึงคนชงกาแฟขายส่วนใหญ่ในเมืองไทยน่ะครับ ที่อาจไม่ค่อยเข้าใจ ที่เห็นคือพยายามใช้ใหม่ๆ เข้าไว้ ซึ่งถ้าคั่วเข้มมาแล้วคงไม่มีปัญหาอะไร ก็ใช้กันไป
So, happen to right ‘by accident’..
The issue of too new the coffee has never crossed me so far. Yes, it could feel brighter but I feel more than fine on that, unlike the staled coffee.
Maybe I happen to have this freshly roasted coffee all the time and understand it I don’t feel much about the issue. For others, it seemed a super ‘no no’ once they see the airy bloom. Just tell oneself that it will be different and see the development of the coffee is definitely my favorite thing to do, rather than waiting for the ‘right’ moment and miss something in between.
เป็นเอกลักษณ์ มากจริงๆ ดูเหมือนว่ามือใหม่มักจะชงแบบสูตรสำเร็จ กี่กรัม กี่วิ แล้วก็จบ ไม่ได้เช็คเรื่องรสชาติว่ากาแฟเปลี่ยนไปรึเปล่า (ดูจากเพื่อนผมเอง) ทั้งๆ ที่ควรที่จะเช็คใช่ไหมครับ แม้ว่าใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ในการควบคุม แต่ก็ต้องใช้ความสามารถทางศิลปศาสตร์ นการปรุงแต่ง
เราควรเก็บเมล็ดกาแฟอย่างไรดีครับ จึงถือว่าจะรักษาคุณภาพเอาไว้ได้
เราควรเก็บแบบสูญญากาศ หรืออัดแก๊ซ N หรืออื่นๆ เพราะแต่ละที่ แต่ละร้านผมคิดว่าก็มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันนะครับ อยางไวน์ยังเห็นว่าจะมีตู้เก็บไวน์รักษาอุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมเลยนะครับ
การแพ็คเป็นเรื่องของโรงคั่วนะครับ โดยระลึกว่าศัตรูรตัวร้ายของกาแฟคือ ออกซิเจน ความร้อน ความชื้น และแสงสว่าง สำหรับผู้ใช้เมื่อเปิดถุงแล้วควรรีบใช้ให้หมดโดยเร็ว ถ้าไม่หมดก็พยายามหาทางป้องกันจากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวไปแล้ว แต่ถ้ายังไม่เปิดถุงผมว่าเก็บในที่เย็นสบายไม่อบอ้าวก็น่าจะพอแล้วครับ
ศัตรูรตัวร้ายของกาแฟคือ ออกซิเจน ใช่ผมเองก็เก็บไว้มิดชิดเลย